ゆりかもめ

พื้นที่โอไดบะ/อาโอมิ

แนะนำพื้นที่โอไดบะ/อาโอมิ

จากป้อมปืนใหญ่แบบตะวันตกจนกลายมาเป็นจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเมือง

1 ในพื้นที่ถมทะเลหมายเลข 13 ใน พ.ศ. 2533 เขตไดบะและด้านในสุดคืออาริอาเกะ (เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดยศาลาว่าการกรุงโตเกียว)

คำว่า "ไดบะ" ของโอไดบะหมายถึงป้อมปืนใหญ่ (ไดบะ) ในปีค.ศ. 1853 เมื่อกองเรือรบเพร์รี่ของอเมริกาเดินทางมาถึง และรบเร้าให้รัฐบาลเอโดะเปิดประเทศ ทางรัฐบาลได้สร้างป้อมปืนใหญ่ริมทะเลแบบตะวันตกขึ้นเพื่อป้องกันประเทศ ตามแผนงาน กำหนดที่จะสร้างเป็นป้อมปืนใหญ่ 11 อันแต่ได้ก่อสร้างจริงแค่ป้อมที่ 1-3 จนถึงป้อมที่ 5-6 ในปัจจุบัน ป้อมที่ยังคงสภาพใกล้เคียงรูปร่างเดิมในสมัยนั้นมีเพียงป้อมที่ 3 และป้อมที่ 6 เท่านั้น

ในบริเวณพื้นที่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่ถมทะเลหมายเลข 13 เชื่อมต่อกับพื้นที่เขตชิบาอุระด้วยเรนโบว์บริจด์ ในปีค.ศ. 1997 ฟูจิทีวีได้ย้ายสำนักงานมาตั้งที่นี่ และมีการใช้พื้นที่บริเวณนี้เป็นฉากในละครโทรทัศน์เรื่อง "โอโดรึ ไดโซซะเซน" ของสถานีโทรทัศน์ช่องเดียวกัน จึงทำให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

ป้อมปืนใหญ่หมายเลข 3 ที่เชื่อมต่อกับผืนแผ่นดินบนบกได้กลายเป็นสวนสาธารณะที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน นอกจากจะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีผู้คนมากมายมาเยี่ยมเยือนแล้ว ยังมีสวนสนุก สวนสาธารณะเรนโบว์ สวนสาธารณะโอไดบิไคฮิง ซึ่งนับเป็นจุดยอดนิยมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนพื้นที่ริมฝั่งทะเล

อาโอมิซึ่งมีบทบาทด้านการพัฒนาข้อมูลและความเป็นสากลของโตเกียว

ชื่อ "อาโอมิ" ถูกตั้งขึ้นมาให้เป็นเขตสัญลักษณ์แห่งอนาคตของพื้นที่ศูนย์กลางย่อยริมทะเล มีความหมายว่า "ความเยี่ยมยอดอย่างสุขสดชื่น"

ตั้งแต่ยุคโชวะ 60 มีการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็น "โตเกียว เทเลพอร์ต ทาวน์" เพื่อรองรับสังคมยุคข้อมูลและความเป็นสากล ด้านทิศใต้ของพื้นที่ในปัจจุบันมีเทเลคอมเซ็นเตอร์ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในฐานะที่เป็นศูนย์ข้อมูล และมิไรคัง (พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสมัยใหม่แห่งชาติ) ซึ่งสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาได้ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงพาณิชย์และสถานบันเทิงต่าง ๆ อาทิเช่น วีนัสฟอร์ต เซปป์โตเกียว และชิงช้าสวรรค์แพลเล็ททาวน์ตั้งเรียงรายติดต่อกันทางด้านทิศเหนือของสถานีอาโอมิของรถไฟสายยูริคาโมเมะอีกด้วย

มองรอบบริเวณโอไดบะ และอาโอมิจากด้านหลังของเทเลคอมเซ็นเตอร์ (เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดยศาลาว่าการกรุงโตเกียว)
มองไดบะจากเขตอาโอมิ ในปีค.ศ. 1974 มีเพียงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์การเดินเรือเท่านั้นที่สร้างเสร็จในสมัยนั้น (เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดยศาลาว่าการกรุงโตเกียว)
บริเวณโอไดบะ และอาโอมิที่ดำเนินการพัฒนา แพลเล็ททาวน์ซึ่งคาบเกี่ยวพื้นที่ทั้งสองบริเวณเป็นจุดยอดนิยม (เอื้อเฟื้อภาพถ่ายโดยศาลาว่าการกรุงโตเกียว)

จุดที่น่าชมบริเวณโอไดบะและอาโอมิ

กิจกรรมที่จัดขึ้นขนาบทางเดินรถไฟ