- ด้านบน
- ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินล่นตามแนวเส้นทางรถไฟ
- พื้นที่ที่ยูริคาโมเมะเชื่อมโยง
- พื้นที่ชิมบาชิ/ชิโอโดเมะ
พื้นที่ชิมบาชิ/ชิโอโดเมะ
- พื้นที่ชิมบาชิ/ชิโอโดเมะ
- พื้นที่ทาเคชิบะ - ชิบาอุระ/สะพานเรนโบว์บริดจ์
- พื้นที่โอไดบะ/อาโอมิ
- พื้นที่อาริอาเกะ
- พื้นที่โทโยสุ
แนะนำพื้นที่ชิมบาชิ/ชิโอโดเมะ

ชิมบาชิเป็นจุดกำเนิดของรถไฟญี่ปุ่น

ชิมบาชิเป็นจุดเริ่มต้นของรถไฟญี่ปุ่นดังที่ทราบได้จาก "กลอนรถไฟ" ที่แต่งขึ้นในสมัยเมจิที่เริ่มต้นว่า "หวูดรถไฟดัง เคลื่อนขบวนออกจากชิมบาชิ...." กล่าวกันว่าที่มาของชื่อสถานที่นี้ได้มาจากการตั้งชื่อ "สะพานอันใหม่" ที่ทอดเหนือแม่น้ำชิโอโดเมะให้มีชื่อว่า "ชิมบาชิ (มีความหมายว่า สะพานใหม่)" ในค.ศ. 1604 ในสมัยเอโดะ
สถานีชิมบาชิ (สถานที่จอดรถชิมบาชิ) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีชิโอโดเมะเนื่องจากสถานีคาซุโมริของรถไฟสายยามาโนเตะได้กลายเป็นสถานีชิมบาชิแห่งใหม่ในสมัยไทโช และถูกใช้เป็นสถานีเฉพาะสำหรับขนส่งสินค้าจนถึงปีค.ศ. 1986 ในปัจจุบัน ได้กลายเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นที่รู้จักกันในนามว่า "สถานที่จอดรถชิมบาชิเดิม" และมีการจำลองส่วนหนึ่งของอาคารสถานีในอดีตขึ้นมาใหม่
ชิโอโดเมะ ย่านพาณิชย์ที่สร้างขึ้นบนบริเวณซากคฤหาสน์ของไดเมียว
ในปัจจุบัน "ชิโอโดเมะชิโอะไซต์" ซึ่งเป็นที่ตั้งของนิปปอนทีวีทาวเวอร์ อาคารสำนักงานใหญ่ของเดนท์สุ รวมถึงกลุ่มตึกสูงระฟ้าต่าง ๆ เช่น อาคารพาณิชย์ โรงแรม และอาคารชุด ฯลฯ เป็นหนึ่งในพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ทันสมัยเพียงไม่กี่แห่งในโตเกียวที่พัฒนาขึ้นมาใหม่จากพื้นที่ซึ่งเคยเป็นสถานีชิโอโดเมะของการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นในอดึต และมีสถานีชิโอโดเมะของสายยูริคาโมเมะอยู่ที่มุมหนึ่ง
เดิมที กล่าวกันว่าชื่อสถานที่ของชิโอโดเมะตั้งมาจาก "กระแสน้ำขึ้นน้ำลงที่คั่งอยู่" จากการสร้างเขื่อนที่แยกคูด้านนอกปราสาทเอโดะออกจากทะเลขึ้นในบริเวณนี้ ในช่วงค.ศ. 1624-1645 มีการถมที่เกิดขึ้น และเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าบรรดาไดเมียวที่มีอิทธิพลอย่างตระกูลทัตซึโนะซากิวากิซากะ ตระกูลไอซึซาซะโฮะ และตระกูลเซนไดมินาโตะดาเตะล้วนแต่สร้างคฤหาสน์ไดเมียวที่มีขนาดกว้างใหญ่อยู่ในละแวกนี้
มีการขุดสำรวจ และขุดพบซากทางโบราณคดีจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นซากอาคารของคฤหาสน์ไดเมียว ซากท่อส่งน้ำและท่อระบายน้ำ และโบราณวัตถุต่าง ๆ ซึ่งทำให้ได้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่รายล้อมไปด้วยสิ่งของต่าง ๆที่อุดมสมบูรณ์ และขนาดของคฤหาสน์ไดเมียวในสมัยนั้น

