ゆりかもめ

ลักษณะพิเศษของพื้นที่ศูนย์กลางย่อยริมทะเ

แนะนำแต่ละพื้นที่

เมืองที่ล้ำสมัยและน่าดึงดูด

ทะเลของโตเกียวที่แฝงไปด้วยศักยภาพอยู่ ณ ที่แห่งนี้

กรุงโตเกียวมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เมืองนานาชาติที่สำคัญหลายแห่งได้เพิ่มเสน่ห์ของพื้นที่บริเวณริมน้ำให้น่าดึงดูดใจยิ่งขึ้นด้วยการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งไม่ว่าจะเป็นท่าเรือหรือแม่น้ำให้เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว จุดชมทิวทัศน์เมือง และแหล่งรวมของธุรกิจและที่อยู่อาศัย

เมื่อมองจากบนฝั่ง พื้นที่ริมฝั่งทะเลของโตเกียวซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หันออกสู่ทะเลเปรียบเสมือนหน้าด่านริมฝั่งของโตเกียว พื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณนี้ถูกนำไปใช้สร้างโรงงาน สถานที่อำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ แต่เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของข้อมูล พื้นที่บริเวณริมน้ำและจุดชมทิวทัศน์เมืองได้รับความสนใจมากขึ้น จึงเป็นที่คาดหวังว่าจะกลายเป็นพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพอันยิ่งใหญ่ที่จะส่งสัญญาณออกไปให้เกิดการสร้างสรรค์เสน่ห์และพลวัตใหม่ ๆ

ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ตั้งแต่ชิมบาชิถึงชิบาอุระซึ่งเชื่อมต่อกับโตเกียวริเวอร์ฟร้อนต์ซิตี้ด้วยเรนโบว์บริจด์ ได้มีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลไปพร้อม ๆกับการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาพื้นที่ใหม่อีกครั้งจนเกิดเป็นพื้นที่เมืองที่มีรูปแบบผสมผสานอย่างชิโอโดเมะชิโอะไซต์ หรือพื้นที่ริมน้ำอย่างท่าเรือทาเคชิบะที่ปรับปรุงใหม่ให้มีทั้งความคึกคักและบรรยากาศที่ผ่อนคลาย

โตเกียวริเวอร์ฟร้อนต์ซิตี้ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและเชื่อมต่อกับพื้นที่ริมอ่าวช่วงชิมบาชิ - ชิบาอุระ

โตเกียวริเวอร์ฟร้อนต์ซิตี้ ที่ตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่ริมฝั่งน้ำของโตเกียวได้พัฒนาขึ้นหลังจากที่มีมติให้สร้างขึ้นเป็นศูนย์กลางย่อยลำดับ 7 รองจากชินจูกุ ชิบุยะ อิเคะบุคุโระ ฯลฯ ตาม "แผนระยะยาวขั้นที่ 2 ของกรุงโตเกียว (ค.ศ. 1986)" เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกรุงโตเกียวจากรูปแบบศูนย์รวมจุดเดียวไปเป็นโครงสร้างเมืองแบบหลายจุดศูนย์รวม

มีการปรับปรุงและขยายเส้นทางรถไฟสองสาย ซึ่งได้แก่ สายยูริคาโมเมะและสายโตเกียวริงไคโคโซคุเทซึโดริงไคไลน์ รวมถึงถนนสายสำคัญอย่างทางด่วนชุโตะและถนนโตเกียววังกัง ทำให้การเดินทางจากใจกลางเมืองไปยังพื้นที่ดังกล่าวสะดวกสบายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังใกล้สนามบินฮาเนดะ และมีทางด่วนเชื่อมต่อกับสนามบินนาริตะด้วย จึงทำให้โตเกียวริเวอร์ฟร้อนต์ซิตี้เป็นจุดเชื่อมต่อการจราจรในวงกว้างและเชื่อมต่อสู่ต่างประเทศ

ในโตเกียวริเวอร์ฟร้อนต์ซิตี้ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 พื้นที่หลัก (ไดบะ อาโอมิ อาริอาเกะคิตะ อาริอาเกะมินามิ) นอกจากจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงพาณิชย์ อาคารสำนักงาน อาคารชุดขนาดสูง สถาบันวิจัย สถานที่จัดการประชุม สถานที่พักผ่อนหย่อนใจต่าง ๆแล้ว ยังอยู่ระหว่างดำเนินการสร้างเมืองที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกคุณภาพสูงที่ดึงเอาเสน่ห์ของพื้นที่ริมน้ำออกมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ

นอกจากนี้ ยังมีกำหนดการที่จะก่อสร้างและปรับปรุงสถานที่จัดการแข่งขันต่าง ๆเพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่จะจัดขึ้นในค.ศ. 2020 จึงกำลังเป็นที่จับตามองว่าจะเป็นพื้นที่ที่จะแสดงโฉมหน้าใหม่ของโตเกียวและเมืองหลวงในศตวรรษที่ 21 สู่สายตาชาวโลก